ช้างดึกดำบรรพ์ในจังหวัดนครราชสีมา พบในลักษณะของซากดึกดำบรรพ์ที่เป็นโครงกระดูกและฟันที่กลายเป็นหิน โดยพบตามแหล่งบ่อทราย ในเขตอำเภอเฉลิมพระเกียรติ โนนสูง และอำเภอพิมาย โดยกระจายอยู่ในพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 15,000 ไร่ ที่เป็นบริเวณที่ราบน้ำท่วมถึงของแม่น้ำมูลปัจจุบัน แต่ชั้นตะกอนที่พบซากดังกล่าว จะเป็นชั้นตะกอนทรายกรวดของแม่น้ำโบราณที่ลึกจากผิวดินประมาณ 5-6 เมตร ไปจนถึงระดับประมาณ 40 เมตร อันเป็นระดับลึกที่สุดของบ่อทรายที่จะดำเนินการดูดทรายได้ในช่วง พ.ศ. 2529-2548
ซากดึกดำบรรพ์ช้างพบได้โดยทั่วไปในทุกบ่อทรายของตำบลท่าช้าง และตำบลช้างทอง ในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งมีการดำเนินการดูดทรายมาแล้วประมาณ 10 ล่อ ปัจจุบันเหลือดำเนินการดูดทรายอยู่เพียง 1 บ่อ ในเขตตำบลช้างทอง เฉพาะซากช้างดึกดำบรรพ์จากบ่อทรายตำบลท่าช้าง ซึ่งได้รับการจำแนกเบื้องต้นจากผู้เชี่ยวชาญประเทศญี่ปุ่น ฝรั่งเศสและจากกรมทรัพยากรธรณีของประเทศไทย พบว่าเป็นซากชิ้นส่วนของช้างดึกดำบรรพ์ประมาณ 8 สกุล คือ ช้างกอมโฟธีเรียม โปรไดโนธีเรียม โปรตานันคัส สเตโกโลโฟดอน เตตระโลโฟดอน ซิโนมาสโตดอน สเตโกดอน และสกุลเอลิฟาส
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น